เปิดข้อมูล 1 ปีที่ผ่านมา มิจฉาชีพสร้างความเสียหายสูงถึง 32,083 ล้านบาท พบ หลอกลงทุนเสียหายมากที่สุดเตือนประชาชนอาจตกเป็นเหยื่อมากขึ้น หลังมิจฉาชีพพัฒนารูปแบบการหลอกลวงขั้นแอดวานซ์
จากข้อมูลพบว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีปัญหาภัยออนไลน์แจ้งมายังเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติกว่า 247,753 เรื่อง มีการยื่นขออายัด 54,017 บัญชี มูลค่า 6,900 ล้านบาท มีการอายัดบัญชีได้ทัน 449 ล้านบาท หรือเพียง 6.4% เท่านั้น คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสูงถึง 32,083 ล้านบาท
โดยอันดับเคสที่มีมูลค่าความเสียหายสูงสุด คือ
1. หลอกลงทุน
2. หลอกเป็นคอลเซ็นเตอร์
3.หลอกทำกิจกรรมหารายได้
4.หลอกลวงขายสินค้า
5. หลอกติดตั้งแอปมิจฉาชีพ
นายอธิปัตย์ พลอยพรายแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงและตรวจสอบทุจริต บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด กล่าวว่า มิจฉาชีพมีการปรับตัวพัฒนาไปมาก จากการหลอกลวงในรูปแบบธรรมดาเช่น ทำเว็บไซด์ปลอม เพจปลอม หลอกลวงโอนเงิน ลวงให้สมัครบริการ เช่นกู้เงินด่วน สร้างตัวตนปลอม บัญชีปลอมSMS ปลอม ลิงก์ปลอม ขอ OTP รหัสผ่าน หรือแจ้งให้ตั้งรหัสใหม่ รวมทั้งการหลอกให้รักจะแต่งงาน ( Romance scam )
ซึ่งมิจฉาชีพในปัจจุบันมีการทุจริตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง และมีรูปแบบที่พัฒนาล้ำหน้ามากขึ้นทั้งการรู้ข้อมูลส่วนบุคคลเชิงลึก และ ปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ , ส่งลิงค์ดาวน์โหลด ติดตั้งแอปพลิเคชั่นจากนอก app store , แนะนำให้ทำตามขั้นตอน เพื่อยินยอม (permission) การเข้าถึงแบบพิเศษ (accessibility) , ชวนพูดคุย และ ให้ใส่ PIN หลายครั้ง , แอปพลิเคชันดูดเงิน เข้าควบคุมเครื่องโทรศัพท์มือถือ และดูดเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย
สินค้าและบริการควบคุมปี 66 ยังคง 51 รายการ เช่นเดียวกับปี 65
แก้กฏหมายใหม่อาคารที่พักอื่น ประกอบธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กได้
เปิดสารพันกลโกงชวนลงทุน อ้าง 7 ข้อนี้ "หลอกแน่นอน"
นายอธิปัตย์ เชื่อว่า มีโอกาสที่ประชาชนจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันภาครัฐ-เอกชน ก็สกัดกั้นอย่างเต็มที่เช่นกัน พร้อมให้คำแนะนำวิธีห่างไกลจากมิจฉาชีพ คือ ระมัดระวังการติดต่อทำธุรกรรมกับผู้อื่น ระวังการโหลดแอปพลิเคชันที่ไม่ปลอดภัย อย่ากดลิงก์ หรือ ไม่กรอกข้อมูลสำคัญ
สำหรับ ทรูมันนี่ เปิดตัวระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น ด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์มาทำงานร่วมกับบิ๊กเดต้าคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
- ชั้นแรก คือการตรวจ : ว่าเป็นตัวจริงที่เข้าใช้งานบัญชี ด้วยระบบยืนยันตัวตนหลายรูปแบบ เช่น สแกนหน้า เพราะถึงแม้มิจฉาชีพจะล่อลวงจนรู้ OTP หรือ Pin Code ก็จะไม่สามารถล็อกอินได้ ทั้งยังตรวจจับค่า IP address หรือ Location ไปพร้อมกันด้วย
- ชั้นที่สอง "จับ" มัลแวร์หรือแอปต้องสงสัยดูดเงิน ปฏิเสธการอนุญาตเข้าใช้งาน และชั้นสุดท้าย "หยุด" การทำรายการที่ผิดปกติ ด้วยระบบ AI จำแนกกำหนดค่าความเสี่ยงความผิดปกติจากประวัติการทำรายการย้อนหลัง เพื่อป้องกันการถูกดูดเงินออกจากบัญชี เชื่อว่าระบบนี้จะสกัดความเสียหายจากมิจฉาชีพเป็นศูนย์ได้อย่างแน่นอน