เข้าสู่ช่วงเทศกาลกินเจ 2566 คนไทยเชื้อสายจีน!อีกหนึ่งตำนานที่มองข้ามไปไม่ได้ ในเทศกาลกินเจนี้ คือตำนานของ 'พระมหาโพธิสัตย์กวนอิม'หรือที่เรียกกันติดปากว่า 'พระแม่กวนอิม' พีพีทีวีนิวมีเดีย พาไปรู้จักประวัติของแม่กวนอิม ว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับเทศกาลกินเจ พร้อมไขความลับว่า แท้จริงแล้วพระโพธิสัตว์แม่กวนอิมนั้น เป็นหญิงหรือชายกันแน่ บทความนี้มีคำตอบ
-
ประวัติพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม
พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) เดิมเป็นเทพธิดาซึ่งต้องการช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ ในชาติสุดท้ายจึงจุติลงมายังโลกมนุษย์นาม เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน
กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กฺวันยิน ตามภาษาจีนกลาง (จีนตัวย่อ: 观音; จีนตัวเต็ม: 觀音; พินอิน: Guān Yīn) เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น
อย่างไรก็ตามเจ้าแม่กวนอิมนั้นเป็นการสักการะบูชาเพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง
ประวัติพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม
พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) เดิมเป็นเทพธิดาซึ่งต้องการช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ ในชาติสุดท้ายจึงจุติลงมายังโลกมนุษย์นาม เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน
กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กฺวันยิน ตามภาษาจีนกลาง (จีนตัวย่อ: 观音; จีนตัวเต็ม: 觀音; พินอิน: Guān Yīn) เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น
อย่างไรก็ตามเจ้าแม่กวนอิมนั้นเป็นการสักการะบูชาเพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง
ตำนานความเชื่อพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม
- พระมหาโพธิสัตว์กวนอิมกับตำนาน ไซอิ๋ว
ชาวจีนเชื่อว่า พระโพธิสัตว์กวนอิมยังมีบทบาทในวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋ว โดยเริ่มแรกทีเดียวซุนหงอคงไม่เชื่อฟังพระถังซำจั๋ง พระแม่กวนอิมจึงประทานเชือกประหลาดและมาบอกพระถังซำจั๋งว่า จงรับรัดเกล้านี้ไป ถ้าหากสวมไปแล้ว แล้วพูดว่า รัดเกล้า รอบเดียว ก็จะปวดหัวเหมือนมีสิ่งใดมัดศีรษะ
- พระมหาโพธิสัตว์กวนอิมตามคติมหายาน
ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งคือ ท่านสถิตย์ ณ เกาะผู่ถัวชาน (普陀山) และปฏิบัติธรรม ณ ที่นั่น (ปัจจุบันมีเทวรูปองค์ใหญ่เป็นพระแม่กวนอิมปางทรงธรรมจักรในพระหัตถ์ซ้าย ส่วนพระหัตถ์ขวาทำพระกิริยาห้าม มองไปที่ทะเลใต้ เรียกว่า หนานไห่กฺวันยิน (南海觀音; หล่ำไฮ้กวงอิม ตามสำเนียงแต้จิ๋ว))
นอกจากนี้ ผู้ที่นับถือ(โดยเฉพาะในไทย) มีเคล็ดลับบอกว่า ผู้ใดนับถือพระแม่กวนอิม ก็จะไม่สามารถรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อวัวและเนื้อควาย และเชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดกัดกินเนื้อว้วควายเข้าไปแม้แต่คำเดียว อาจหมายถึงกินพระเจ้าเมี่ยวจวง
- พระมหาโพธิสัตว์กวนอิมและวัดโฮรีว
รูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิมมักมีเด็กชายและ เด็กหญิงหรือสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาอยู่เคียงข้างเสมอ โดยถูกเรียกทับศัทพ์เป็นคำจีนว่า กิมท้ง คือเด็กชายผู้ที่ทุบศีรษะเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านจนดวงปราณละสังหารได้นั้นเอง และ เง็กนึ้งคือสาวใช้ผู้ปวารณาเป็นข้ารับใช้พระองค์ขณะเป็นภิกษุณี บางตำนานว่ากิมท้ง คือ บุตรชายคนรองแห่งเทพถือเจดีย์ (บิดาแห่งนาจา) นามว่า "ซ่านไฉ่"ซึ่งถวายตัวเป็นพุทธสาวกแห่งพระโพธิสัตว์กวนอิม และส่วนเง้กนึ้งบางตำนานกล่าวว่าคือ ธิดาพญามังกร นามว่าหลงหนี่ซึ่งเป็นพระธิดาแห่งเจ้าสมุทรผัวเจี๋ยหลัวปวารณาตนเป็นสาวกของพระโพธิสัตว์กวนอิม
- พระโพธิสัตว์กวนอิมและซ่านไฉ่ กับ หลงหนี่
คำพูดจาก เว็บสล็อต มาแรงอันดับ 1
แต่บางตำนานว่า ซ่านไฉ่ กับ หลงหนี่เป็นพระโพธิสัตว์โดยมีเทวตำนานดังนี้ ตอนที่เจ้าหญิงหลงหนี่อายุได้ 8 พรรษาได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ บังเกิดเห็นดวงตาเห็นธรรมจึงเสด็จขึ้นจากวังบาดาล ยังชมพูทวีปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และถวายตัวเป็นสาวก และต่อมาไม่นานสำเร็จมรรคผลเป็นพระโพธิสัตว์ ส่วนซ่านไฉ่นั้นเป็นบุตร 1 ใน 500 คนแห่งผู้เฒ่าฝูเฉิง เกิดเห็นว่าทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งไม่เที่ยงมาแต่ไหนแต่ไร ด้วยเหตุนี้จึงสนใจศึกษาพระธรรมโดยได้รับคำชี้แนะจากพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ และได้รับการสั่งสอนจากภิกษุ ถึง 53 รูป ผ่านอุปสรรคต่างๆจนบรรลุสู่การเป็นพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์กวนอิม เกี่ยวอย่างไรกับเทศกาลกินเจ
ความเชื่อเทศกาลกินเจและพระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นความเชื่อกันตามชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในไทยเมื่อร้อยปีก่อน โดยนำความเชื่อเรื่องการนับถือเจ้าแม่กวนอิมเข้ามาด้วย เนื่องจากมหาโพธิสัตว์กวนอิม เป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตากรุณาการกินเจจึงเป็นการละเว้นการเอาชีวิตของสัตว์ เพื่อเป็นการสักการะบูชาแก่พระพุทธเจ้าและมหาโพธิสัตว์กวนอิม การสักการะบูชาจึงต้องรักษาศีล ตั้งจิตใจให้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจ เพื่อสร้างบุญกุศลให้กับตัวเอง และเทพที่คุ้มครองคนในตระกูล
เรียบเรียงข้อมูลจาก ประวัติพระโพธิสัตว์กวนอิม , Bodhisattva Avalokitesvara: Guanyin
คลัง เผย ต้องลงทะเบียน – ยืนยันตัวตน รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท | โชว์ข่าวเช้านี้ | 11 ต.ค.66
ทำไมต้อง “ล้างท้องก่อนกินเจ” เปิดข้อปฏิบัติ ต้อนรับเทศกาลกินเจ 2566