ยังคงจะต้องจับตากันต่อไปสำหรับการจัดตั้งรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จะเป็นอย่างไรต่อไป? หลังมีการล้ม “ดีลรัก” จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคก้าวไกลเป็นที่เรียบร้อย โดยที่พรรคเพื่อไทยมีการประกาศชัดขอเริ่มต้นใหม่ตัดขาดไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล

วันนี้เราจะพามาย้อนดู “ดีลรัก” ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกล ไล่ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดจบ เพื่อให้เห็นได้ชัดว่าระหว่างทางเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ทั้งนี้สำหรับจุดเริ่มต้น “ดีลรัก”ระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.2566 ที่พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย พรรคเป็นธรรม พรรคเพื่อไทรวมพลัง และพรรคพลังสังคมใหม่ ร่วมแถลงข่าว MOU จัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน 8 พรรค

22 พ.ค.2566

แกนนำ 8 พรรคการเมือง ลงนาม MOU จัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางกระแสข่าวดีลลับทางการเมือง สลับขั้วตั้งรัฐบาลที่เกิดอย่างต่อเนื่อง โดยพรรรคการเมืองที่เป็นตัวแปรในสมการ “ดีลลับ” มากที่สุดในขณะนั้นคือพรรคเพื่อไทย

23 พ.ค. – 25 พ.ค.2566

พรรคเพื่อไทย-พรรคก้าวไกล แสดงความต้องการตำแหน่งประธานสภา ท่ามกลางกระแสข่าวดีลลับสลับขั้วตั้งรัฐบาล กระแสข่าวพรรคเพื่อไทยจะตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคก้าวไกล กระแสข่าวการเดินทางพูดคุยดีลลับของบุคคลสำคัญทางการเมืองตามสถานที่ต่างๆ

30 พ.ค. 2566

มีการประชุมร่วม 8 พรรค จัดตั้งคณะทำงานร่วมกันในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยยืนยัน 8 พรรคร่วมจะเป็นรัฐบาลของประชาชน พร้อมประกาสว่าพรรคเพื่อไทยจะเปลี่ยนดีลลับ เป็นดีลรักให้หมด

เพื่อไทย ตั้งรัฐบาลไม่มี “ก้าวไกล” เสนอชื่อ “เศรษฐา”นายกคนที่ 30 เปิดตัวพรรคร่วมใหม่ 3 ส.ค.นี้

 ย้อนรอยดีลรัก “ก้าวไกล-เพื่อไทย” จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดจบ!

ม็อบเดือด! เผาหุ่นประท้วงหน้าพรรคเพื่อไทย ซัดตระบัดสัตย์-ทรยศปชช.

30 พ.ค.- 3 ก.ค. 2566

พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลยังคงทำงานร่วมกันในฐานะพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางปัญหาความไม่ลงรอยในเรื่องตำแหน่งประธานสภา ซึ่งทั้ง 2 พรรคต่างต้องการตำแหน่งดังกล่าว

4 ก.ค. 2566

พรรคเพื่อไทย เสนอชื่อคนกลาง คือ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ชิงตำแหน่งประธานสภา และได้รับเสียงสนับสนุนจากสภา โดยที่พรรคก้าวไกลได้ตำแหน่งรองประธานสภาฯคนที่ 1 และพรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งรองประธานสภาฯคนที่ 2

13 ก.ค. 2566

มีการประชุมร่วมรัฐสภา ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ซึ่งนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรับมนตรีจากพรรคก้าวไกล ให้รัฐสภาพิจารณา แต่สุดท้ายนายพิธา ได้รับเสียงสนับสนุนไม่ถึงกึ่งหนึ่งไม่เพียงพอที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

19 ก.ค. 2566

มีการประชุมร่วมรัฐสภา ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เป็นรอบที่ 2 นายสุทิน คลังแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อนายพิธาให้รัฐสภาพิจารณา แต่สุดท้ายรัฐสภามีมติเสียงข้างมากเป้นญัตติซ้ำ ไม่สามารถพิจารณาได้อีก

21 ก.ค. 2566

นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล แถลงข่าวว่า พรรคก้าวไกล จะเปิดโอกาสให้ประเทศให้พรรคอันดับ 2 คือพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลของพันธมิตร 8 พรรค ที่เราได้ทำ MOU ร่วมกันเอาไว้

21 ก.ค. 2566

พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ภายใต้เงื่อนไขของการร่วมรัฐบาลจาก 8 พรรคการเมืองเดิม พร้อมระบุว่าเงื่อนไขสำคัญเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ส่งผลให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้

21 ก.ค. 2566

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่านพรรคเพื่อไทย แถลงผลการหารือ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล โดยที่ประชุมมีมติให้พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมควรได้รับแต่งเป็นนายก และมี 3 แนวทางให้ได้มาซึ่งเสียงสนับสนุน คือ 1.ลดเงื่อนไขมาตรา 112 เพื่อหาเสียงจาก สว.เพิ่มเติม 2.เพื่อไทยไปพูดคุยพรรคการเมืองอื่น ตามที่เพื่อไทยเห็นควร เพื่อให้ได้มาซึ่งได้เสียงจาก สส. และ 3.เป็นแนวทางอื่นๆ นอกเหนือจาก 2 แนวทางแรก โดย นพ.ชลน่าน อธิบายว่า อาจหมายถึงการไม่มีพรรคใดพรรคหนึ่งในสมการจัดตั้งรัฐบาล

22 ก.ค. 2566

พรรคเพื่อไทยหารือกับพรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคชาติพัฒนากล้า มีภาพบรรยากาศการร่วมกินกาแฟอย่างชื่นมื่น

23 ก.ค. 2566

พรรคเพื่อไทยหารือกับพรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคพลังประชาชรัฐ

23 ก.ค. 2566

นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ว่าพรรคเพื่อไทยต้องเลือกเอา-ไม่เอาพรรคก้าวไกล ภายหลังมีความเคลื่อนไหวจากหลายพรรคที่ประกาศท่าทีไม่ร่วมงานกับพรรคก้าวไกลคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

25 ก.ค. 2566

พรรคเพื่อไทย แจ้งขอยกเลิกการประชุม 8 พรรคร่วมออกไปก่อน โดยไม่ได้แจ้งเหตุผล โดยแกนนำพรรคเพื่อไทยออกมายืนยันว่า พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย แก้วไม่ร้าว! คาดเลื่อนประชุม 8 พรรค เพราะจะเลื่อนโหวตนายกฯ

26 ก.ค. 2566

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ออกมายืนยันความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเพื่อไทย-ก้าวไกลยังดีอยู่ไม่ได้แตกคอกันตามกระแสข่าว

26 ก.ค. 2566

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความว่า “พ่อจะกลับมาแล้ว วันที่ 10 สิงหาคมนี้ ที่สนามบินดอนเมือง“ ขณะที่นายทักษิณออกมายืนยันเรื่องการกลับประเทศไทย พร้อมบอกว่าเชื่อว่าเศรษฐกิจดีขึ้นหลังเพื่อไทยเป็นรัฐบาล

28 ก.ค. 2566

แกนนำพรรครวมไทยสร้างชาติ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าพรรครวมไทยสร้างชาติทำงานร่วมกับพรรคเพื่อไทยได้

28 ก.ค. 2566

นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตรักษาการประธาน นปช. โพสต์เฟซบุ๊ก เตือนพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว คนเสื้อแดงคงโบกมือลา แต่ถ้าไม่ถึงขนาดนั้น ยังจับขั้ว 8 พรรคเดิม แล้วเพิ่มเติมบางพรรคเข้ามา ก็น่าจะเป็นวิถีทางที่ “คนเสื้อแดงอุดมการณ์” ยอมรับได้

1 ส.ค. 2566

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ว่า เชื่อว่าพรรคเพื่อไทย ไม่ทำเรื่องลับ ๆ ล่อ ๆ จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย หรือปิดสวิตช์พรรคก้าวไกลผลักไปเป็นฝ่ายค้าน ย้ำขอให้เชื่อว่า พรรคเพื่อไทยไม่ทำอะไรบ้า ๆ

2 ส.ค. 2566

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงภายหลังหารือกับพรรคก้าวไกลว่า ยืนยันจัดตั้งรัฐบาลไม่มีพรรคก้าวไกล เสนอชื่อ “เศรษฐา ทวีสิน” เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 พร้อมเปิดตัวพรรคร่วมใหม่พรุ่งนี้ 3 ส.ค. 2566

2 ส.ค. 2566

นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการ พรรคก้าวไกล แถลงข่าวขอโทษประชาชน ที่พรรคก้าวไกลไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ

ถึงจุดนี้ คงถือได้ว่า เป็นจุดสิ้นสุด “ดีลรัก” ของพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลอย่างเป็นทางการ โดยผ่านเวลาเพียง 73วันหลังจากนี้คงจะต้องรอดูว่าพรรคเพื่อไทยจะเริ่มต้น “ดีลรักครั้งใหม่” กับพรรคใดบ้างเพื่อรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล แทน 151 เสียงของพรรคก้าวไกลที่ขาดไป

By admin